Cost + Contract

สำรวจปริมาณและราคา (QS)/ ตรวจทานสัญญาออนไลน์

สำรวจปริมาณและราคา (Quantity Survey: QS)


สำหรับผู้ประกอบการหรือผู้บริหารโครงการ เพื่อวัตถุประสงค์ในการบริหารงบประมาณค่าก่อสร้างหรือการพัฒนาโครงการ โดยทีมที่ปรึกษาสามารถที่จะให้ความช่วยเหลือลูกค้าในกิจกรรมดังต่อไปนี้

 

บริการช่วงก่อนทำสัญญาก่อสร้าง (Pre-Contract Services)
  • ศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ (Feasibility Studies)
  • ประมาณราคาค่าก่อสร้าง (Cost Estimate) ในแต่ละขั้นตอนของการออกแบบ ดังนี้
            • การออกแบบร่าง (Schematic Design)
            • การออกแบบขั้นพัฒนา (Design Development)
            • การออกแบบขั้นสุดท้าย (Construction Drawings) และจัดทำราคากลาง (BOQ)
  • จัดทำกระบวนการวิศวกรรมคุณค่า (Value Engineering : VE)
  • การประมูลงาน (Tender Stage)
  • จัดเตรียมเอกสารข้อกำหนดในการว่าจ้าง (Terms of Reference : TOR)
  • เปรียบเทียบและวิเคราะห์เงื่อนไขและราคา (Tender Analysis)
  •  ช่วยต่อรองราคาและเงื่อนไขกับผู้รับจ้างก่อสร้างที่ได้รับการคัดเลือก
  • จัดทำสัญญาจ้างก่อสร้าง (Contract Documentation)

 

บริการช่วงหลังทำสัญญาก่อสร้าง (Post-Contract Services)
  • ออกใบรับรองการชำระเงิน (Payment Certificates)
  • ตรวจสอบปริมาณและราคาของงานเปลี่ยนแปลง (Variation Order) ที่เสนอโดยผู้รับจ้างก่อสร้าง
  • จัดทำรายงานประจำเดือนและเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายจริงกับงบประมาณที่กำหนดไว้
  • สรุปบัญชีค่าใช้จ่ายขั้นสุดท้าย (Final Accounts) เพื่อแสดงให้เห็นต้นทุนของโครงการ

ตรวจทานสัญญา (Contract Review: Online)


บริการตรวจทานสัญญาสำหรับโครงการก่อสร้างทั่วประเทศ ซึ่งเป็นการตรวจทานข้อตกลง (Article of Agreement) และเงื่อนไขในสัญญา (Conditions) กับผู้รับจ้างหรือผู้จำหน่าย ว่ามีความเหมาะสมหรือไม่อย่างไร

เพราะเหตุว่า การจัดทำสัญญานั้นเปรียบได้กับการนำเป้าหมายของงานและเงื่อนไขต่าง ๆ ที่มีไว้ป้องกันและแก้ไขปัญหาที่มีโอกาสจะเกิดขึ้น มาระบุไว้เป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อให้ผู้รับจ้างหรือผู้จำหน่ายเข้าใจตรงกันกับผู้ว่าจ้างหรือผู้ซื้อ ดังนั้น หากสัญญาไม่มีคุณภาพเพียงพอแล้ว ย่อมมีความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมา เช่น

  • ตกหล่นข้อความที่ควรมีไว้เพื่อแก้ไขและป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต หรือกำหนดข้อความที่ไม่สอดคล้องกับจุดประสงค์และ/หรือข้อจำกัดของงาน
  • ไม่มีหลักเกณฑ์การคิดงานเพิ่ม/ลดที่ชัดเจน นำไปสู่ข้อขัดแย้งจนส่งผลกระทบต่อเป้าหมายของโครงการ
  • มีการระบุวิธีการชำระเงินค่าจ้างตามเนื้องานที่กำหนดไว้ (Milestone Payment) แต่ปรากฏว่าเนื้องานที่กำหนดไว้ในแต่ละงวดไม่สัมพันธ์กับเทคนิคหรือข้อจำกัดในการก่อสร้าง เช่น ไม่มีความต่อเนื่องของงาน หรือไม่สัมพันธ์กับค่าจ้างที่ตั้งเบิกในแต่ละงวด ทำให้ในที่สุดแล้วเกิดปัญหาตามมาหลายประการ
  • มีการระบุแต่เพียงเงื่อนไขเพื่อป้องกันปัญหาระหว่างคู่สัญญา (Preventive) แต่ไม่มีการระบุแนวทางการแก้ไขในกรณีที่เกิดปัญหาขึ้น (Corrective) เช่น ไม่มีการระบุให้ผู้ว่าจ้างสามารถตัดงานส่วนที่เห็นว่าไม่สามารถดำเนินการแล้วเสร็จได้ทันตามสัญญา ออกไปดำเนินการเองได้

 

โดยทีมงานจะทำการตรวจทานสัญญาและจัดทำรายงานบันทึกปัญหาที่ตรวจพบ นำส่งให้ลูกค้าเพื่อพิจารณาแจ้งให้คู่สัญญาทำการปรับปรุงแก้ไขต่อไป